คำถามที่พบบ่อย
ทำไมฉันต้องไปพบกับผู้ให้คำปรึกษา
การให้คำปรึกษาจะมีประโยชน์เมื่อเราตระหนักว่าเราไม่ได้มีการรับมือกับสิ่งต่างๆ อย่างดี สิ่งที่เราเคยทำในการรับมือกับสิ่งต่างๆ อาจไม่ได้ผลและมีผลทางลบต่อความสัมพันธ์และต่อตัวเราเอง ผู้ให้คำปรึกษาคือผู้ที่ได้รับการฝึกฝนมาเพื่อช่วยเหลือคุณให้เข้าถึงรากของปัญหาต่างๆ เพื่อให้คุณสามารถมองเห็นทางเลือกในการรับมือกับสิ่งต่างๆ และจัดการกับสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกทุกข์ทั้งกับผู้อื่น และตัวคุณเอง อีกทั้งเรายังแนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาในกรณีที่มีความคิด ความรู้สึก หรือพฤติกรรมที่รบกวน หรือเป็นมาในระยะเวลานาน และไม่ปรกติสำหรับคุณ การตัดสินใจที่จะรับคำปรึกษาเป็นการตอบสนองที่ดีที่จะทำให้คุณเติบโตในความเข้าใจ ความเชื่อ และ อุปนิสัย
ขั้นตอนในการขอรับคำปรึกษาเป็นอย่างไร
- กรอกข้อมูลใน “ติดต่อเรา” เพื่อแจ้งความประสงค์ในการขอรับคำปรึกษา
- เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับทางอีเมล์พร้อมกับแนบแบบฟอร์มข้อมูลของผู้มารับบริการ (Client Information Form) ให้กรอกข้อมูลแล้วส่งคืนให้เจ้าหน้าที่ ขอให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน โดยเฉพาะในช่องรายการลักษณะของอาการต่างๆ และ ความกังวลหรือปัญหาที่คุณประสงค์จะรับคำปรึกษา
- หากผู้ที่ต้องการเข้ารับบริการเป็นผู้เยาว์ ทางเจ้าหน้าที่จะส่งแบบฟอร์มข้อมูลของผู้มารับบริการ สำหรับเยาวชน หรือ เด็กให้
- เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลที่กรอกในแบบฟอร์มข้อมูลของผู้มารับบริการเรียบร้อยแล้ว จะมีการตรวจสอบตารางเวลาและผู้ให้คำปรึกษาที่จะเหมาะสมกับคุณ
- เจ้าหน้าที่จะส่งอีเมล์ถึงคุณพร้อมกับแจ้งชื่อผู้ให้คำปรึกษาและที่อยู่อีเมล์ ขอให้คุณติดต่อกับผู้ให้คำปรึกษาโดยตรงเพื่อยืนยันและทำการนัดหมาย หรือสอบถามหากมีคำถามใดๆ
- ในกรณีที่คุณไม่ได้พักอาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ และจะต้องพบกับผู้ให้คำปรึกษาหลายคน (เช่น การให้คำปรึกษาสำหรับคู่สมรส/รายบุคคล ครอบครัว ฯลฯ) ทางเจ้าหน้าที่จะส่งตารางยืนยันการนัดหมายทั้งหมดให้คุณก่อนการเดินทาง
- คุณสามารถส่งอีเมล์มาที่ [email protected] ในกรณีที่มีคำถามเกี่ยวกับขั้นตอนการขอรับคำปรึกษา
ค่าใช้จ่ายในการการรับคำปรึกษา
พันธกิจของมูลนิธิฯ ดำเนินงานผ่านเงินถวายของผู้ที่มารับคำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาของมูลนิธิฯ เป็นอาสาสมัครที่ได้รับเงินสนับสนุนจากช่องทางอื่น และไม่ได้รับค่าตอบแทนจากมูลนิธิฯ เราขอให้ผู้ที่มาขอรับคำปรึกษาถวายเพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและเป็นค่าตอบแทนสำหรับเจ้าหน้าที่คนไทย
ทางมูลนิธิฯ ต้องการให้ผู้ที่มาขอรับคำปรึกษาแต่ละคนที่จะตัดสินใจในการถวายและไม่ต้องการให้ค่าใช้จ่ายมาเป้นอุปสรรคในการขอเข้ารับบริการ เราเชื่อว่าผู้เข้ารับบริการแต่ละท่านจะสามารถถวายเท่าที่จะทำได้
อัตราถวายที่มูลนิธิฯแนะนำสำหรับผู้ที่เข้ารับบริการ คือ
การให้คำปรึกษา | 800 บาทต่อชั่วโมง |
การรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ | 1,000 บาทต่อชั่วโมง |
รายงานผลการให้คำปรึกษา | 800 บาท |
ประเด็นปัญหาอะไรบ้างที่ผู้ให้คำปรึกษาของมูลนิธิจิตรักษ์สามารถให้ความช่วยเหลือได้
- ความรู้สึก และ/หรือความคิดที่รู้สึกไม่สบายใจ ท่วมท้น หรือยากที่จะควบคุม
- พฤติกรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
- สถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกติดอยู่ในนั้น
- ความยากลำบากในความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือที่ทำงาน
- ประสบการณ์ที่สร้างบาดแผลในใจหรือการสูญเสียครั้งใหญ่
- ความกังวลเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต
- การส่งต่อให้กับจิตแพทย์
มีอะไรอีกบ้างที่ผู้ให้คำปรึกษาของมูลนิธิจิตรักษ์สามารถให้ความช่วยเหลือได้
- การเติบโตส่วนบุคคล
- ประเด็นหรือสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
- ประสบการณ์ที่ทำให้เครียด
- การเปลี่ยนแปลงในชีวิต
- การประมวลความสูญเสีย/ความใกล้ชิด และการดำเนินชีวิตต่อไป
- การให้มุมมองที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงจากผู้ที่ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ
- การตัดสินใจ
- กระบวนการและกิจกรรมเพื่อสร้างทีม
จะสามารถมาพบกับผู้ให้คำปรึกษาคนเดิมในภายหลังได้หรือไม่
บางคนพบว่าหลังที่จากที่ประสบความสำเร็จในการรับคำปรึกษาไปในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว พวกเขาต้องการที่จะจัดการกับประเด็นปัญหาอื่นๆ หรือรับการเยียวยาเชิงลึกด้วย หรือหากปัญหานั้นกลับมารบกวนคุณอีก ซึ่งเป็นการดีที่จะกลับไปพบกับผู้ให้คำปรึกษาคนเดิม แต่ในบางกรณีอาจเป็นผลดีหากจะพบกับผู้ให้คำปรึกษาท่านอื่นที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ หรือเป็นเพศตรงข้าม
จะมีใครรู้บ้างว่าผม/ฉันมารับคำปรึกษาที่มูลนิธิจิตรักษ์
ด้วยมาตรฐานทางวิชาชีพและจริยธรรม ข้อมูลของผู้เข้ารับบริการทั้งหมดจะถือเป็นความลับ ยกเว้นใน 2 กรณี คือ สถานการณ์ที่บุคคลที่มารับบริการมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่น และ ในสถานการณ์ที่ผู้เยาว์กำลังถูกหรือเคยถูกล่วงละเมิดอย่างรุนแรง นอกเหนือจากข้อยกเว้นสองข้อนี้การยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลจะเป็นสิทธิ์ของผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับการส่งมารับคำปรึกษาโดยองค์กรเพื่อประเมินและ/หรือรับการรักษา จะมีการพูดคุยตกลงร่วมกันระหว่างองค์กรและผู้รับบริการถึงขอบเขตของการรักษาความลับก่อนที่จะได้รับบริการจากผู้ให้คำปรึกษา